บทที่ 2 ระบบต่างๆของร่างกาย

ระบบต่างๆของร่างกาย
ระบบย่อยอาหาร
การย่อยและการดูดซึมสารอาหารที่ย่อยแล้ว อวัยวะในระบบย่อยอาหารของคนแบ่งออกเป็น 2 ส่วน
  
 อวัยวะที่เป็นทางเดินอาหาร 

ปาก  เป็นอวัยวะส่วนแรกของระบบทางเดินอาหาร ทำหน้าที่เป็นทางเข้าของอาหาร
ลิ้น ทำหน้าที่ในการรับรสอาหารและคลุกเคล้าอาหารให้เป็นก้อนแล้วช่วยส่งทางเดินอาหารเข้าสู่ทางเดินอาหารส่วนถัดไปต่อมน้ำลาย สร้างน้ำลาย น้ำลายประกอบด้วยน้ำร้อยละ 97-99 เมือก น้ำย่อยอะไมเลส สำหรับย่อยแป้งและสารอื่นๆ อีกเล็กน้อยน้ำลายหลั่งออกมาวันละ 1,000-1,500 ลูกบาศก์เซนติเมตร pH อยู่ระหว่าง 6.2-7.4 ต่อมน้ำลายมี 3 คู่คือ ต่อมน้ำลายใต้ลิ้น ต่อน้ำลายใต่ขากรรไกร ต่อมน้ำลายข้างกกหู


คอหอย  หลังจากที่อาหารถูกเคี้ยว และผสมกับน้ำลายจนอ่อนนิ่มแล้วอาหาร็พร้อมที่จะถูกกลืนโดยลิ้นจะดันก้อนอาหารไปทางด้านหลังให้ลงสู่ช่องคอ
หลอดอาหาร  ไม่มีหน้าต่อมที่ทำหน้าที่สร้างน้ำย่อย แต่การย่อยอาหารยังมีอยู่เนื่องจากน้ำย่อยอะไมเลสจากน้ำลาย เมื่ออาหารผ่านเข้าสู่หลอดอาหารจะทำให้เกิดการหดตัวของผนังกล้ามเนื้อหลอดอาหารให้หดตัวติดต่อกันเป็นลูกคลื่น ซึ่งเรียกว่า เพอริสทัลซิส ไล่ให้อาหารตกลงสู่กระเพาะอาหาร
กระเพาะอาหาร   กระเพาะอาหารของคนอยู่ทางด้านซ้ายของช่องท้องใต้กะบังลมกระเพาะอาหารแบ่งออก เป็น 4 ส่วน คือ ส่วนของคาร์เดีย คือกระเพาะอาหารส่วนที่อยู่ติดกับหลอดอาหาร ส่วนที่อยู่เหนือช่องที่เปิดเข้ากระเพาะอาหารอยู่ทางส่วนบนคือ ฟันดัส ส่วนที่อยู่ติดกับลำไส้เล็กส่วนต้นคือ ไพลอรัส ส่วนที่อยู่ตรงกลางซึ่งเป็นส่วนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือตัวกระเพาะชั้นมิวโคซา บริเวณตัวกระเพาะของกระเพาะอาหารจะมีความหนามากที่สุด มีลักษณะเป็นเส้นนูนขึ้นไปตามความยาวของกระเพาะอาหาร ซึ่งเรียกว่ารูกี้ ช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวของกระเพาะอาหารทำให้ประสิทธิภาพในการสร้างสารและย่อยอาหารเพิ่มขึ้นนอกจากนี้ยังช่วยให้กระเพาะสามาถเพิ่มและขยายขนาดขณะรับประทานอาหารได้ถึง 1,000 – 1,200 ลูกบาศก์เซนติเมตร กระเพาะเมื่อไม่ได้บรรจุอาหาร มีปริมาณพียง 50 ลูกบาศก์เซนติเมตรเท่านั้น
ในปกติจะหลั่งน้ำย่อยจากกระเพาะอาหารวันละประมาณ 3 ลิตร โดยน้ำย่อยของกระเพาะอาหารเป็นน้ำใสๆ มีน้ำประมาณร้อยละ 99.4 มีความถ่วงจำเพาะ 1.000 – 1.003
pH ประมาณ 1.2 – 1.7 มีความเป็นกรดสูงมาก
  1. Pepsinogen  ย่อยสาพวกโปรตีนให้เป็นเพปโทนและโพรทีโอส
  2. Prorennin    เปลี่ยนโปรตีนในนมโดยรวมกับแคลเซียมให้เป็นนมที่ตกตะกอน การที่นมตกตะกอนมีลักษณะเป็นลิ่มๆ นี้ จะทำให้มีเวลาอยู่ในกระเพาะอาหารนานขึ้นและเพปซินจะได้ย่อยได้มากขึ้น
  3. Lipase   ทำงานได้ดีเมื่อ pH ประมาณ 8 ซึ่งเป็นเบสอ่อนๆ แต่ไม่ถูกทำลายด้วยกรด ดังนั้นเมื่อไขมันและลิเพสผ่านเข้าสู่ลำไส้เล็กจึงทำการย่อยได้ 

ลำไส้เล็ก เป็นส่วยที่ทำหน้าที่ในการย่อยและดูดซึมสารอาหารมากที่สุด ลำไส้เล็กมี
ลักษณะคล้ายท่อยาว ยาวประมาณ 7 เมตร และมีความกว้างประมาณ 2.5 เซนติเมตร
ลำไส้ใหญ่  ลำไส้ใหญ่ของคนมีความยาวประมาณ 1.50 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6 เซนติเมตร แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ
   Caecum ทำหน้าที่รับกากาอาหารจากลำไส้เล็ก ที่ซีกัมมีส่วนของไส้ติ่งยื่นออกมา
   Colon  มีหน้าที่ในการดูดซึมน้ำและพวกวิตามินบี 12 ที่แบคทีเรียในลำไส้ใหญ่สร้างสร้างขึ้นและขับลำไส้ใหญ่เข้าสู่ลำไส้ใหญ่ส่วนต่อไป
   Rectum  เมื่อกากาอาหาถูกส่งเข้าสู่ไส้ตรงจะทำให้เกิดความรู้สึกอยากถ่ายขึ้น เพราะความดันในไส้ตรงเพิ่มขึ้นเป็นผลให้กล้ามเนื้อหูรูดที่ทวารหนักอันใน ซึ่งทำงานนอกเหนือจิตใจเปิดออก แต่กล้ามเนื้อหูรูดที่ทวารหนักอันนอกเปิดออกเมื่อร่างกายต้องการ ซึ่งจะทำให้กเดการถ่ายอุจจาะออกทางทวาหนักต่อไป
   2. อวัยวะช่วยย่อยอาหาร ประกอบด้วย
ตับ
- ตับเป็นต่อมขนาดใหญ่ที่สุดที่อยู่ใต้กะบังลม ทำหน้าที่หลายประการคือ
- สร้างพลาสมาโปรตีน
- เก็บสะสมกลูโคส ในรูปของไกลโคเจน
- สร้างน้ำดีเก็บไว้ที่ถุงน้ำดีและปล่อยเข้าสู่ดูโอดีนัม
- สร้างกลูโคสและไกลโคเจน จากไขมันและโปรตีน
- สร้างแอมโมเนีย
- ช่วยกำจัดสารพิษ บางชนิดที่เข้าส่างกาย
ตับอ่อน
- ตับอ่อนมีรูปร่างคล้ายใบไม้อยู่บริเวณส่วนใต้ของกระเพาะอาหารมีหน้าที่ดังนี้
- สร้างน้ำย่อยจากตับอ่อน ทำหน้าที่ย่อยอาหารพวกโปรตีน คาร์โบไฮเดรตและไขมัน
- สร้างฮอร์โมนที่ตับอ่อนที่ต่อมไร้ท่อ สร้างฮอร์โมนอินซูลิน และฮอร์โมนกลูคากอน ช่วย-  ---- ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด


ระบบหมุนเวียนเลือด
          
 ระบบหมุนเวียนเลือดของคนเป็นแบบระบบปิดโดยเลือดอยู่ภายในหัวใจและเส้นเลือดตลอดเวลาโครงสร้างและระบบหมุนเวียนเลือดของคนประกอบด้วยส่วนต่างๆ คือหัวใจ เส้นเลือด และเลือด
หัวใจ
       หัวใจเป็นอวัยวะที่ประกอบด้วยกล้ามเนื้อหัวใจ (cardiacmuscle) ที่ภายในกลวง (hollowmuscularorgan) ทำหน้าที่ในการส่งเลือด 2 ระบบในเวลาเดียวกันโดยระบบหนึ่งทำหน้าที่ส่งเลือดที่ฟอกแล้วและมีออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย เรียกว่า ซีสเทมิกเซอร์คิวเลชัน อีกระบบหนึ่งทำหน้าที่ส่งเลือดที่มีออกซิเจนต่ำไปฟอกที่ปอด เรียกว่าพัลโมนารีเซอร์คิวเลชัน หัวใจอยู่ในช่องอกระหว่างปอดทั้ง 2 ข้างค่อนไปทางซ้ายเล็กน้อย หัวใจอยู่ในถุงตันที่เรียกว่า เพอริคาร์เดียม(pericardial sac) ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดไฟบรัส ภายในมีของเหลวเล็กน้อยแทรกอยู่ทำหน้าที่หล่อลื่น ป้องกันการเสียดสี
 


ห้องหัวใจ ห้องหัวใจมี 4 ห้องด้วยกันคือ
  1. ห้องบนซ้ายหรือเอเทรียมซ้าย ทำหน้าที่รับเลือดแดง ซึ่งฟอกจากปอดแล้วทางเส้นเลือดพัลโมนารีเวน
  2. ห้องบนขวาหรือเอเทรียมขวา รับเลือดดำ ที่ใช้แล้วจากซูพีเรียเวนาคาวา ซึ่งนำเลือดจากส่วนบนของร่างกาย คือ หัว แขน และอินฟีเรียเวนาคาวา ซึ่งนำเลือดมาจากส่วนล่างของร่างกาย คือ ขาและลำตัว
  3. ห้องล่างซ้ายหรือเวนทริเคิลซ้าย ทำหน้าที่ส่งเลือดซึ่งรับมาจากเอเทรียมซ้ายเข้าสู่เส้นเลือดแดงใหญ่ เอออร์ตา เพื่อไปเลี้ยงทั่วร่างกาย หัวใจห้องนี้มีผนังหนาที่สุดเนื่องจากต้องใช้แรงในการบีบตัวมากกว่าหัวใจห้องอื่นๆ
  4. ห้องล่างขวาหรือเวนทริเคิลขวา ทำหน้าที่ส่งเลือดที่ใช้แล้ว ซึ่งรับมาจากเอเทรียมขวาไปฟอกที่ปอดโดยผ่านไปทางเส้นเลือดพัลโมนารีอาร์เทอรีหัวใจห้องนี้มีผนังหนาเช่นกันแต่บ่างกว่าเวทริเคิลซ้าย เนื่องจากส่งเลือดไปยังปอดเท่านั้นไม่ต้องใช้แรงบีบมากนัก
ลิ้นหัวใจ
          ลิ้นหัวใจ(valve) ทำหน้าที่ควบคุมการไหลเวียนของเลือดให้เป็นทิศทางเดียว และป้องกันการไหลย้อนทิศของเลือด ลิ้นหัวใจมี 2 ชนิดคือ
  1. ลิ้นเอทริโอเวนทริคิวลาร์ เป็นลิ้นที่กั้นอยู่ระหว่างเอเทรียมและเวนทริเคิลลักษณะของลิ้นจะลู่ลงทางด้านล่างแสดงให้เห็นว่าเลือดมีทิศทางการไหลจากเอเทรียมสู่เวนทริเคิลเท่านั้น
 ลิ้นที่กั้นระหว่างเอทรียมขวาและเวนทริเคิลขวา เรียกว่า ลิ้นไตรคัสพิด ลิ้นนี้ประกอบด้วยลิ้นแผ่นบางๆ 3 ชิ้น ประกบกัน ส่วนลิ้นที่กั้นระหว่างเอเทรียมซ้ายและเวินทริเคิลซ้ายเรียกว่าลิ้นไบคัสพิดหรือลิ้นไมทรัล ประกอบด้วยลิ้นแผ่นบางๆ 2 ชิ้นประกบกัน ลิ้นทั้งสองนี้ทำหน้าที่ควบคุมไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับเข้าสู่หัวใจห้องบนอีก การที่ลิ้นหัวใจทางด้านขวามี 3 ชิ้น แต่ทางด้านซ้ายมี 2 ชิ้น เนื่องจากผนังเวนทริเคิลซ้ายหนากว่าผนังเวนทริเคิลขวา ความกว้างของห้องเวนทริเคิลซ้ายจึงน้อยกว่าเวินทริเคิลขวาดังนั้นลิ้นเพียง 2 ชิ้น ก็สามารถปิดกันได้สนิท ส่วนเวนทริเคิลขวากว้างกว่าลิ้นเพียง 2 ชิ้น จะปิดได้ไม่พอจึงต้องมีลิ้นถึง 3 ชิ้นจึงจะปิดได้สนิท
       2. ลิ้นเซมิลูนาร์เนื่องจากลิ้นไบคัสพิดและลิ้นไตรคัสพิด มีขนาดใหญ่และบาง จึงมีเส้นใยยึดอยู่ด้านล่างของลิ้นไว้กับกล้ามเนื้อพาพิลาร์ ที่อยู่ที่ฐานของเวนทริเคิล เส้นใยนี้เรียกว่า คอร์เดเทนดิเนีย ทำหน้าที่ดึงลิ้นเอทริโอเวนทริคิวลาร์ ไม่ให้พลิกกลับขึ้นไปข้างบนเมื่อเวนทริเคิลบีบตัว ถ้าเส้นใยนี้ฉีกขาดหรือเสียไป เมื่อเวนทริเคิลบีบตัวจะมำให้ลิ้นเอทริโอเวนทริคิวลาร์พลิกกลับและเลือดบางส่วนจะไหลกลับเข้าไปในเอเทรียมทั้งสองห้อง แทนที่จะไหลเข้าสู่เอออร์ตาและพัลโมนารีอาร์เทอรีลิ้นเซมิลูนาร์ พบทีเส้นเลือดเอออร์ตาและพัลโมนารีอาร์เทอรี มีลักษณะเป็นรูปครึ่งวงกลม 3 วง วางประกบกัน ลิ้นชนิดนี้ลู่ขึ้นทางด้านบน ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้เลือดในเส้นเลือดทั้งสองไหลกลับเข้าสู่เวนทริเคิลของหัวใจ




เส้นเลือดที่หัวใจ
          เส้นเลือดที่หัวใจ หมายถึงเส้นเลือดที่เลี้ยงหัวใจและเส้นเลือดที่ติดต่อกับหัวใจโดยตรง แบ่งออกเป็น
  1. เอออร์ตา เป็นเส้นเลือดแดง(นำเลือดที่มีก๊าซออกซิเจนสูง)ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดนำเลือดแดงออกจากเวนทริเคิลซ้ายไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายเส้นเลือดเอออร์ตาเมื่อออกจากเวนทริเคิลล่างซ้ายแล้วจะโค้งไปทางด้านหลังทางซ้ายแล้วทอผ่านทางช่องอกและช่องท้องขนาดไปกับกระดูกสันหลัง จากเส้นเลือดเอออร์ตาจะมีเส้นเลือดแยกออกไปเลี้ยงหัวใจ สมอง แขน อวัยวะภายในต่างๆ ส่วนของขาและอื่นๆ
  2. เวนาคาวา เป็นเส้นเลือดดำ(นำเลือดที่มีก๊าซออกซิเจนต่ำ) ขนาดใหญ่ 2 เส้น คือ
    1. ซูพีเรียเวนาคาวา เป็นเส้นเลือดที่นำเลือดส่วนหัว คอ อก และแขน กลับเข้าสู่หัวใจทางเอเทรียมขวา
    2. อินฟีเรียเวนาคาวา เป็นเส้นเลือดดำที่นำเลือดจากส่วนของร่างกายที่อยู่ต่ำกว่ากะบังลมโดยเส้นเลือดจะอยู่บริเวณกลางลำตัวรับเลือดจากตับ อวัยวะสืบพันธุ์ อวัยวะภายในอื่นๆ และส่วนขากลับเข้าสู่หัวใจเอเทรียมขวา
  3. พัลโมนารีอาร์เทอรี เป็นเส้นเลือดที่นำเลือดดำจากเวนทริเคิลขวาไปฟอกที่ปอด เส้นเลือดพัลโมนารีอาร์เทอรี เมื่อออกจากเวทริเคิลขวาจะโอบไปทางด้านหลังของเอออร์ตา แล้วแยกออกเป็นสองเส้นคือ พัลโมนารีอาร์เทอรีซ้ายไปยังปอดด้านซ้ายและพัลโมนารีอาร์เทอรีขวาไปยังปอดด้านขวา เส้นเลือดพัลโมนารีอาร์เทอรีนี้เป็นเส้นเลือดที่นำเลือดดำแต่ชื่ออาร์เทอรีเพราะเลือดมีทิศทางการไหลออกจากหัวใจ ซึ่งตามปกติอาร์เทอรี จะเป็นเส้นเลือดแดง
  4. พัลโมนารีเวน  เป็นเส้นเลือดที่นำเลือดแดงจากปอดทั้งสองข้างเข้าสู่เอเทรียมซ้า
ระบบทางเดินหายใจ





จมูกและปาก  ทั้งจมูกและปากจะต่อถึงคอหอยและหลอดลมคอได้ อากาศเมื่อเข้าสู่รูจมูกแล้วก็จะเข้าสู่โพรงจมูกที่โพรงจมูกมีขนเส้นเล็กๆ และต่อมน้ำมันช่วยในการกรองและจับฝุ่นละอองไม่ให้ผ่านลงสู่ปอด นอกจากนี้ที่โพรงจมูกยังมีเยื่อบุจมูกหนาช่วยให้อากาศที่เข้ามามีความชุ่มชื้นและมีอุณภูมิสูงขึ้น เนื่องจากมีเส้นเลือดจำนวนมากที่อยู่ใต้เยื่อบุผิวของโพรงจมูกถ้าหากเป็นหวัดนานๆ เชื้อหวัดอาจทำให้ เยื่อบุโพรงอากาสบริเวณจมูกอักเสบ และทำให้ปวดศรีษะ ซึ่งเรียกว่าไซนัสขึ้นได้ ในจมูกมีบริเวณซึ่งเรียกว่า ออลแฟกทอรีแอเรียหรือบริเวณที่ทำหน้าที่รับกลิ่น
 คอหอย   เป็นบริเวณที่พบกันของช่องอากาศจากจมูก ช่องอาหารของปาก กล่องเสียงจากหลอดลมคอ หลอดอาหารและช่องจมูกจากหูคือหลอดยูสเมเชียน อากาศเมื่อคอหอยจะเข้าสู่กล่องเสียงที่กล่องเสียงมีอวัยวะที่ทำหน้าที่ในการปิดเปิดกล่องเสียงเรียกว่า เอพิกลอททิส ป้องกันไม่ให้อากาศตกสู่หลอดลมคอ ที่กล่องมีเยื่อเมือกที่มีใยเอ็นยืดหยุ่นได้เรียกว่า เส้นเสียง เมื่อลมผ่านกล่องเสียงทำให้เส้นเสียงสั่นและเกิดเป็นเสียงขึ้น 





หลอดลมคอ  เป็นท่อกลวงมีผนังแข็งและหนา เพราะประกอบไปด้วยกระดูกอ่อนรูปเกือกม้าเรียงตัวกันเป็นหลอด ทำให้หลอดลมคอไม่แฟบและการที่กระดูดอ่อนของหลอดลมคอเป็นรูปเกือกม้าทำให้หลอดอาหาร ซึ่งอยู่ด้านหลังสามารถขยายขนาดได้เมื่อมีการกลืนอาหารผ่านหลอดอาหารลงสู่กระเพาะอาหา หลอดลมคอของผู้ใหญ่ยาวประมาณ 9-15 เซนติเมตร โดยเริ่มจากกระดูกคอชิ้นที่ 6 จนถึงกระดูกอกชิ้นที่ 5 แล้วจึงแตกแขนงเป็นหลอดลมซ้ายขวาเข้าสู่ปอดซ้ายขวาอีกทีหนึ่ง หลอดลมคอส่วนต้นๆ มีต่อมไทรอยด์คลุมอยู่ทางด้านหน้า ทางด้านนอกของหลอดลมคอมีต่อมน้ำเหลืองกระจายอยู่เป็นกลุ่มๆ
        หลอดลม   เป็นส่วนที่แตกแขนงแยกออกจากหลอดลมคอ แบ่งออกเป็น 2 กิ่ง คือซ้ายและขวาโดยกิ่งซ้ายจะเข้าสู่ปอด และกิ่งขวาจะแยกเข้าปอดขวาพร้อมกับเส้นเลือดและเส้นประสาทซึ่งเข้าสู่ปอดทั้งสองข้างด้วย
        
ถุงลมและถุงลมย่อย   ถุงลมเป็นช่องว่างที่มีถุงลมย่อยๆ หลายๆ ถุงมาเปิดเข้าที่ช่องว่างส่วนนี้ ส่วนถุงลมย่อยมีลักษณะเป็นถุงหกเหลี่ยมมีเซลล์พิเศษหลั่งสารพวกฟอสฟอลิพิดเรียกว่า เซอร์แฟกแทนต์ เข้าสู่ถุงลมย่อยเพื่อลดแรงตึงผิวของถุงลมย่อยทำให้ไม่ติดกันเมื่อปอดแฟบเวลาหายใจออกผนังของถุงลมย่อยที่ติดกันจะรวมกัน เป็นอินเตอร์อัลวีโอลาร์เซปตัม ซึ่งมีเส้นเลือดฝอยอยู่ภายในโดยถุงลมย่อยแต่ละถุงจะมีเส้นเลือดฝอยมาเลี้ยงประมาณ 1,000 เส้น ซึ่งเป็นบริเวณที่มีเส้นเลือดฝอยที่มาเลี้ยงมากที่สุดของร่างกาย นอกจากนี้ยังมีรูซึ่งเป็นช่องว่างติดต่อระหว่างถุงลมย่อยทำให้อากาศภายในถุงลมย่อยมีแรงดันเท่ากันทั้งปอด ทั้งถุงลมและถุงลมย่อยเรียกรวมกันว่าถุงลมปอด ปอดทั้งสองข้างมีถุงลมปอดประมาณ 300 ล้านถุง แต่ละถุงมีเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยประมาณ 0.25 มิลลิเมตร คิดเป็นพื้นที่ผิวทั้งหมดของการแลกเปลี่ยนก๊าซของถุงลมปอดทั้งสองข้าง ประมาณ 90 ตารางเมตร หรือคิดเป็น 40 เท่าของพื้นที่ผิวร่างกาย ซึ่งมีพื้นที่เทียบได้กับสนามเทนนิส 1 สนาม การที่ปอดยืดหยุ่นได้ดีและขยายตัวได้มาก ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอและคายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากและรวดเร็วจนเป็นที่เพียงพอแก่ความต้องการของร่างกาย ซึ่งจะเห็นได้ว่าปอดของคนเป็นอวัยวะที่เหมาะสมที่สุดในการแลกเปลี่ยนก๊าซสำหรับการหายใจ
ปอด  เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ในการหายใจ ปอดตั้งอยู่ภายในทรวงอก มีปริมาตรประมาณ 2 ใน 3 ของทรวงอก ปอดขวาจะสั้นกว่าปอดซ้าย เนื่องจากตับซึ่งอยู่ด้านล่างดันขึ้นมา ส่วนปอดซ้ายจะแคบกว่าปอดขวา เพราะมีหัวใจแทรกอยู่ ปอดมีเยื้อหุ้มปอด 2 ชั้น ชั้นนอกติดกับผนังช่องอกเรียกว่า พาเรียทอลพลิวรา ชั้นในติดกับผนังของปอดเรียกว่า วิสเซอรอลพลิวรา ระหว่างเยื่อทั้งสองชั้นมีของเหลวที่เรียกว่า พลิวรอลฟลูอิด เคลือบอยู่ การแฟบและขยายของปอดจะเป็นตัวกำหนดปริมาณของอากาศที่เข้าสู่ร่างกาย ซึ่งทำให้ร่างกายได้รับก๊าซออกซิเจน และถ่ายเทก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกตามที่ร่างกายต้องการ

 ระบบประสาท


 

 
 
 ศูนย์ควบคุมระบบประสาท
       ศูนย์กลางของระบบประสาทอยู่ที่สมองและไขสันหลัง ซึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงมาจากนิวรัลทิวบ์ ในระยะเอ็มบริโอ ซึ่งมีลักษณะเป็นหลอดยาวพาดไปตามแนวสันหลังส่วนหน้ามีการเจริญและพัฒนาไปมาก มีการพองออกเจริญเป็นสมอง ส่วนท้ายมีการพัฒนาไม่ได้มากนักและเจริญไปเป็นไขสันหลัง ทั้งสมองและไขสันหลัง ทั้งสมองและไขสันหลังมีเยื่อหุ้มอันเดียวกันเยื่อหุ้มนี้เรียกว่า เยื่อหุ้มสมองระหว่างกระดูกกะโหลกศรีษะกับเยื่อหุ้มสมองชั้นนอกมีช่องหรือโพรงเรียกว่าช่องเหนือชั้นดูราช่องนี้เป็นที่อยู่ของเส้นเลือดอาร์เทอรีเส้นใหญ่เข้าสู่สมองด้วยระหว่างเยื่อหุ้มสมองชั้นนอกและเยื่อหุ้มสมองชั้นกลางมีช่องที่เรียกว่า ช่องใต้ชั้นดูรา ในช่องนี้มีเส้นเลือดเวนอยู่โดยเฉพาะอย่างยิ่งเส้นที่ทอดมาตามร่องระหว่างสมองส่วนซีรีบรัมซีกซ้าย และขวาระหว่างเยื่อชั้นกลางและเยื่อชั้นในไม่ได้อยู่ติดกันทีเดียวแต่จะมีช่องซึ่งเรียกว่าช่องใต้ชั้นอะแรชนอยด์ บรรจุน้ำเลี้ยงสมองและไขสันหลังไหลเวียนติดต่อกันได้ตลอดน้ำเลี้ยงสมองและไขสันหลังสร้างมาจากเส้นเลือดฝอยบริเวณโพรงสมองและไหลติดต่อกับระบบหมุนเวียนเลือดด้วย โดยทำหน้าที่ในการหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลังให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอและให้อาหาร แก๊สออกซิเจนแก่เซลล์ประสาทในขณะเดียวกันก็ถ่ายเทของเสียออกจากเซลล์ประสาทด้วย ถ้าหากช่องที่ติดต่อระหว่างโพรงสมองหับไขสันหลังอุดตันจะทำให้เกิดการคั่งของน้ำในโพรงสมอง ถ้าเป็นในเด็กจะทำให้สมองไม่เจริญเติบโต เนื่องจากถูกน้ำกดสมองไว้และดันให้กระโหลกศรีษะขยายขึ้นทำให้หัวโตมากเรียกว่าเป็นโรคน้ำคั่งในสมอง ถ้าไม่รีบเจาะน้ำออกเด็กจะตายในเวลาไม่นานนัก ถ้าหากเป็นในผู้ใหญ่จะทำให้เกิดการปวดศรีษะอย่างมาก
สมอง
       สมองเป็นส่วนของระบบประสาทที่มีความซับซ้อนนมากที่สุดสมองของสัตว์มีกระดูกสันหลัง อยู่ในกระโหลกศรีษะ ชั้นนอกมีสีเทามีที่อยู่ของตัวเซลล์ซึ่งไม่มีเยื่อไมอีลินหุ้ม ส่วนชั้นในเป็นสีขาวเป็นที่อยู่ของเส้นประสาทที่แยกออกจากเซลล์ประสาท และมีเยื่อไมอีลินหุ้มอยู่ด้วย สมองของสัตว์มีกระดูกสันหลังแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ สมองส่วนหน้า สมองส่วนกลาง และสมองส่วนท้าย สมองส่วนหน้าของสัตว์มีวิวัฒนาการสูงจะมีความเจริญมากและมีขนาดใหญ่มากด้วย แต่สมองส่วนกลางของสัตว์ที่มีวิวัฒนาการสูงจะมีขนาดเล็กลง



 
สมองส่วนหน้า
   ออลแฟกทอรีบัลบ์  เกี่ยวกับการดมกลิ่น ในคนสมองส่วนนี้ไม่ค่อยเจริญ
   ซีรีบรัม    เกี่ยวกับความคิด ความจำ เชาว์ปัญญาและทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางควบคุมการทำงานด้านต่างๆได้แก่ การรับสัมผัส การพูด การรับรู้ภาษา การมองเห็น การรับรส การได้ยิน การดมกลิ่น  การทำงานของกล้ามเนื้อ
   ทาลามัส   เป็นศูนย์รวบรวมกระแสประสาทที่ผ่านเข้าออก แล้วแยกกระแสประสาทส่งไปยังสมองที่เกี่ยวข้องกับกระแสประสาทนั้น
   ไฮโพทาลามัส    ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายควบคุมการเต้นของหัวใจ และความดันเลือด ควบคุมความต้องการพื้นฐานของร่างกาย เช่น น้ำ อาหาร การพักผ่อน และความต้องการทางเพศ สร้างฮอร์โมนประสาทหลายชนิดมาควบคุมการหลั่งฮอร์โมนของต่อมใต้สมองส่วนหน้า
          สมองส่วนกลาง
   ออปติกโลบ  ควบคุมการเคลื่อนไหวของนัยน์ตา ทำให้ลูกนัยน์ตากลอกไปมาและควบคุมการปิดเปิดของรูม่านตาในเวลาที่มีแสงสว่างเข้ามากและน้อย ในคนจะมีขนาดเล็ก
         สมองส่วนท้าย
   ซีรีเบลลัม  ประสานความเคลื่อนไหวของร่างกายให้ราบรื่น สละสลวย และเที่ยงตรง ทำให้สามารถทำงานที่ละเอียดอ่อนและทำหน้าที่ควบคุมการทรงตัวของร่างกายให้เป็นปกติอยู่ได้
   พอนส์    ควบคุมการเคี้ยว การหลั่งน้ำลายและการเคลื่อนไหวของใบหน้า ควบคุมการหายใจ เป็นทางผ่านของกระแสประสาทระหว่างซรีบรัมกับซีลีเบลลัมกับไขสันหลัง
   เมดัลลาออบลองกาตา   ควบคุมเกี่ยวกับการทำงานแบบอัตโนวัติ ได้แก่ ควบคุมการเต้นของหัวใจ ควบคุมการหายใจ ควบคุมความดันเลือด ควบคุมการกลืน การจาม การสะอึก การอาเจียน 






0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น